หน่วย 1










การนับเวลาและเทียบศักราชในประวัติศาสตร์สากล


เมื่อมนุษย์มีการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมต่อเนื่องที่ใช้ระยะเวลายาวนาน ดังนั้น มนุษย์จึงต้องกำหนดช่วงเวลาซึ่งเป็นที่ยอมรับและสามารถใช้ร่วมกันได้ในสังคมหนึ่งๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเหตุการณ์ตรงกัน มนุษย์จึงได้กำหนดศักราชขึ้นเพื่อใช้นับเวลาทุกๆ 1 ปี โดยเกณฑ์การกำหนดศักราชนี้จะแตกต่างกันไปตามแนวคิดและความเชื่อในแต่ละสังคม เช่น บางสังคมใช้เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ การสร้างเมืองหรืออาณาจักร บางสังคมใช้เหตุการณ์สำคัญทางศาสนา เป็นต้น ศักราชที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์สากลที่สำคัญ ได้แก่ คริสต์ศักราชและฮิจเราะห์ศักราช
คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
คริสต์ศักราชเป็นศักราชสากลที่ใช้อยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้ คริสต์ศักราชที่ 1 เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ปี 754 แห่งศักราชโรมัน การเริ่มต้นคำนวณคริสต์ศักราชเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 525 เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์นที่ 1 (St. Paul I) ทรงมอบหมายให้นักบวชชื่อไดโอนีซุส เอ็กซิกุอุส (Dionysius Exiguus) คำนวณวันอีสเตอร์สำหรับใช้ระหว่าง ค.ศ. 527-626
ผลการคำนวณพบว่าพระเยซูคริสต์ประสูติเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ปี 753 แห่งศักราชโรมัน ต่อเนื่องจากตามธรรมเนียมถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ดังนั้นจึงเห็นว่าวันที่ 1 มกราคม ปี 754 แห่งศักราชโรมัน เป็นจุดเริ่มต้นของปีแรกสำหรับยุคใหม่ของมนุษยชาติ เรียกว่า“ปีแห่งพระเป็นเจ้า” (ANNO DOMINI ซึ่งย่อว่า A.D.) ทำให้ในเวลาต่อมามีการเรียกช่วงเวลาก่อนการประสูติของพระเยซูคริสต์ว่า ก่อนคริสต์ศักราช (Before Christ ซึ่งย่อว่า B.C.) ดังนั้น ตามการคำนวณของไดโอนีซุส เอ็กซิกุอุส ปี 754 แห่งศักราชโรมัน จึงถือว่าเป็น ค.ศ. 1 (A.D. 1) และปี 753 แห่งศักราชโรมัน จึงเป็น 1 ปีก่อนคริสต์ศักราช (1 B.C.)
ฮิจเราะห์ศักราช
ฮิจเราะห์ศักราชเป็นศักราชของศาสนาอิสลาม โดยใช้ปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลามกระทำฮิจเราะห์ (Hijarah แปลว่า การอพยพโยกย้าย) คือ อพยพออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา เป็น ฮ.ศ.1 ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 622 หรือ พ.ศ. 1165 แต่การเทียบฮิจเราะห์ศักราชเป็นพุทธศักราชไม่สามารถใช้จำนวนคงที่เทียบได้ เนื่องจากฮิจเราะห์ศักราชยึดถือวัน เดือน ปี ทางจันทรคติอย่างเคร่งครัด จึงเดินตามปีสุริยคติไม่ทัน ทำให้คลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุกๆ 32 ปีครึ่งจะเพิ่มขึ้นจาก ปี สุริยคติไป 1 ปีตลอด การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราชในปัจจุบัน ให้บวกฮิจเราะห์ศักราชด้วย 1122
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล




ยุคหรือสมัยเป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาของเหตุการณ์ เพื่อกำหนดขอบเขตของเวลาที่มีความหมายและเป็นที่เข้าใจร่วมกันได้ง่ายขึ้นและสื่อสารกันได้อย่างถูกต้องตรงกัน นักวิชาการทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์นิยมกำหนดพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติออกเป็น 2 ยุค คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัยประวัติศาสตร์ โดยแต่ละสมัยยังมีการแบ่งออกเป็นสมัยย่อยอีก
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-historical Period)
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรจดบันทึกเรื่องราวของสังคม นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลักโดยศึกษาจากซากพิมพ์ดึกดำบรรพ์หรือพิมพ์หิน โบราณสถาน โบราณวัตถุ โครงกระดูก สิ่งของเครื่องใช้ ภาพวาดตามผนังหรือบนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นยุคย่อย คือ ยุคหินกับยุคโลหะ ทั้งนี้ยุคหินยังมีการแบ่งออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และ ยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะก็มีการแบ่งเป็นยุคสำริดกับยุคเหล็ก
เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักนำหินมาปรับใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์และอาวุธ นักโบราณคดีกำหนดให้ยุคหินของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สากล) อยู่ระหว่าง 2.5 ล้านปี ถึงประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว แต่เนื่องจากสิ่งที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือหิน ดังนั้นเราจึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคหิน ทั้งนี้ยุคหินตามพัฒนาการเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ยังแบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อย คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ ดังนี้
1. ยุคหิน (Stone Age)
1.1 ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Stone Age) อยู่ระหว่าง 2,500,000 -10,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงผา ยังไม่มีความคิดสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุธรรมชาติหรือตั้งรกรากถาวร ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ หาปลา และเก็บหาผลไม้ในป่า เมื่ออาหารตามธรรมชาติหมดก็อพยพไปหาแหล่งอาหารที่อื่นต่อไป มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักประดิษฐ์เครื่องมืออย่างหยาบๆ เครื่องมือที่ใช้ทั่วไป คือ เครื่องมือหินกะเทาะ ที่มีลักษณะหยาบ ใหญ่ หนา กะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้าน ไม่มีการฝนให้เรียบ มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักนำหนังสัตว์มาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม รู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ให้แสงสว่าง ให้ความปลอดภัย และหุงหาอาหาร มีการฝังศพ ทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย และมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่างๆ ของผู้ตายฝังไว้ในหลุมด้วย นอกจากนี้มนุษย์ยุคหินเก่ายังรู้จักสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งพบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้สีฝุ่นสีต่างๆ ได้แก่ สีดำ น้ำตาล ส้ม แดงอ่อน และเหลือง ภาพที่วาดส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ เช่น วัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง เป็นต้น ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของมนุษย์ยุคหินเก่าอยู่ที่ถ้ำลาสโก ประเทศฝรั่งเศส
หลักฐานเครื่องมือหินที่นักโบราณคดีพบตามที่ต่างๆ เช่น ทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย และทวีป อเมริกา ทำให้มีการตั้งชื่อมนุษย์ยุคนี้ตามสถานที่ที่พบหลักฐาน เช่น มนุษย์ชวา พบที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย มนุษย์ปักกิ่ง พบที่ถ้ำใกล้กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล พบที่หุบเขาแอนเดอร์ ประเทศเยอรมนี มนุษย์โครมันยองพบที่ถ้ำโครมันยอง ประเทศฝรั่งเศส มนุษย์โครมันยองเป็นมนุษย์ยุคหินเก่ารุ่นสุดท้าย (อายุระหว่าง 30,000-17,000 ปีมาแล้ว) ที่ค้นพบและมีลักษณะเหมือนมนุษย์ปัจจุบัน
1.2 ยุคหินกลาง(Mesolithic Period หรือ Middle Stone Age) อยู่ระหว่าง 10,000-6,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้รู้จักทำเครื่องมือหินที่มีความประณีตมากขึ้นด้วยการกระเทาะ ผิวด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านออกให้เกิดความคม ทำให้เครืองมือหินในยุคนี้มีรูปทรงที่เหมาะแก่การใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม เครื่องมือยุคหินกลางที่พบมีทั้งเครื่องมือสับ ตัด ขุด และทุบ
หลักฐานเครื่องมือหินของมนุษย์ในยุคหินกลางพบในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โดยพบครั้งแรกในเวียดนามเรียกว่าวัฒนธรรมฮัวบิเนียน จัดเป็นวัฒนธรรมยุคหินกลางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
1.3ยุคหินใหม่(Neolithic Period หรือ New Stone Age) อยู่ระหว่าง 6,000 -4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความเจริญทางวัตถุมากกว่ายุคหินกลาง รู้จักควบคุมธรรมชาติมากขึ้น รู้จักพัฒนาการทำเครื่องมือหินอย่างประณีตโดยมีการขัดฝนหินทั้งชิ้นให้เป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการใช้สอยมากขึ้นกว่าเครื่องมือรุ่นก่อนหน้านี้ เช่น มีดหินที่สามารถตัดเฉือนได้แบบมีดโลหะ มีการต่อด้ามยาวเพื่อใช้แผ่นหินลับคมเป็นเสียมขุดดิน หรือต่อด้ามไม้สำหรับจับเป็นขวานหิน สามารถปั้นหม้อดินและใช้ไฟเผา สามารถทอผ้าจากเส้นใยพืชและทอเป็นเชือกทำเป็นแหหรืออวนจับปลา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำแนกมนุษย์ยุคหินใหม่ออกจากมนุษย์ยุคหินกลางก็คือการที่มนุษย์ยุคนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น มีการปลูกข้าวและพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟัก บวบ และเลี้ยงสัตว์หลายชนิดมากขึ้น เช่น แพะ แกะ และ วัว ซึ่งก็คงทั้งไว้ใช้งานและเป็นอาหาร
วัฒนธรรมยุคหินใหม่พบอยู่ทั่วโลก แต่หลักฐานสำคัญที่มีลักษณะโดดเด่น คือ การสร้างอนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ที่มีชื่อเสียง คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์ เพื่อพิธีกรรม เพื่อบวงสรวงดวงอาทิตย์ และเพื่อผลผลิตทางการเพาะปลูก
2. ยุคโลหะ (Metal Age) เริ่มเมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอันแสดงถึงการพัฒนาความสามารถทางความคิด ด้วยการมีควาสามารถ นำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้นั่นเอง ในระยะแรกของยุคโลหะจะพบว่าพวกเขารู้จักหลอมทองแดงและดีบุกซึ่งเป็นโลหะที่ใช้อุณหภูมิไม่สูงนักในการหลอม ต่อมาจึงพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีขึ้นมาจนสามารถหลอมเหล็กได้ ซึ่งการหลอมเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูง นักโบราณคดีจึงแบ่งยุคโลหะออกเป็น 2 ยุคตามความแตกต่างของระดับเทคโนโลยีและวัสดุที่นำมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ดังนี้
2.1 ยุคสำริด (Bronze Age) การเริ่มต้นของยุคสำริดในแต่ละภูมิภาคจะต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มระหว่างประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ในช่วงเวลานี้มนุษย์รู้จักนำทองแดงผสมกับดีบุกหลอมรวมกันกลายเป็นโลหะผสมที่เราเรียกว่า สำริด มาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธที่มีคุณภาพดีกว่าที่ทำจากหินขัดมาก การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคนี้ก็เปลี่ยนไปจากการเป็นชุมชนเกษตรกรรมเล็กๆ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่าชุมชนเมือง มีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ของคนในสังคมตามความสัมพันธ์และความสามารถ ซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สังคมมีความมั่นคงและมีการสั่งสมอารยธรรมได้อย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา แหล่งอารยธรรมสำคัญที่มีพัฒนาการจากสังคมสมัยหินใหม่สู่สมัยสำริด เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดีย และแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงเหอในประเทศจีน เป็นต้น
2.2 ยุคเหล็ก (Iron Age) เริ่มเมื่อประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว เป็นช่วงของการพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ต่อเนื่องจากยุคสำริด หลังจากที่มนุษย์สามารถนำทองแดงมาผสมกับดีบุกและหลอมเป็นโลหะผสมได้แล้ว มนุษย์ก็คิดค้นหาวิธีนำเหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มีความแข็งและทนทานกว่าสำริดมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ ด้วยการใช้อุณหภูมิในการหลอมที่สูงกว่าการหลอมสำริด แล้วจึงตีโลหะเหล็กในขณะที่ยังร้อนอยู่ให้เป็นรูปทรงที่ต้องการ เนื่องจากเหล็กใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้มีความเหมาะสมกับงานการเกษตรที่ต้องใช้ความแข็งแรงมากกว่าสำริด และมีความทนทานกว่าด้วย จึงทำให้มนุษย์ยุคเหล็กสามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เหล็กยังใช้ทำอาวุธที่มีความแข็งแกร่งและทนทานกว่าสำริด จึงทำให้สังคมมนุษย์ยุคนี้ที่พัฒนาเข้าสู่ยุคเหล็กและเข้าสู่ความเป็นรัฐได้ด้วยการมีกองทัพที่มีประสิทธิภาพกว่า สามารถปกป้องเขตแดนของตนเองได้ดีกว่า ทำให้สังคมเมืองของตนมีความมั่นคงปลอดภัย และในที่สุดก็สามารถขยายอิทธิพลไปยังดินแดนอื่นๆ ได้ในเวลาต่อมา
สมัยประวัติศาสตร์ (Historical Period)
สมัยประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวของสังคมนั้นๆ อักษรนั้นอาจเป็นตัวอักษรของชนชาติอื่นก็ได้แต่นำมาใช้บันทึกคำพูดเป็นเรื่องราวของสังคมตน โดยสมัยประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นสมัยย่อย คือ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจตามเหตุผลการจำแนกยุคสมัยดังนี้ นักเรียนจึงต้องเข้าใจว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ของสังคมแต่ละสังคม (หรือประเทศ) จะเริ่มต้นไม่ตรงกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข การมีตัวอักษรบันทึกเรื่องราวของแต่ละสังคม นอกจากนั้นการแบ่งและกำหนดสมัยย่อยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็ยังมีความแตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละภูมิภาคต่างก็มีพัฒนาการแตกต่างกันไป
สังคมมนุษย์ที่มีตัวอักษรใช้เป็นสังคมที่มีการจัดระบบซับซ้อนขึ้นจากการที่มนุษย์มีการสะสมความรู้และมีพัฒนาการทางความคิดที่ซับซ้อนขึ้นนั่นเอง เนื่องจากแต่ละสังคมมีพัฒนาการทางความรู้ความคิดและเทคโนโลยีที่ต่างกัน สมัยประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศจึงเริ่มต่างกัน เช่นเดียวกับการที่สังคมแต่ละสังคมมีพัฒนาการผ่านสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาต่างกันนั่นเอง เนื่องจากบทเรียนนี้เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์สากล ซึ่งหมายถึงประวัติศาสตร์โลกตะวันตกนั่นเอง การกำหนดยุคสมัยทางประวัติ ศาสตร์สากลจึงใช้เกณฑ์ที่นักประวัติศาสตร์ตะวันตกนิยมใช้ ซึ่งก็แบ่งเป็นสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบัน
1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.476) เริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก บริเวณดินแดนเมโสโปเตเมียแถบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสและดินแดนอียิปต์แถบลุ่ม แม่น้ำไนล์ ที่ชาวเมโสโปเตเมียและชาวอียิปต์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรได้เมื่อ 3,500 ปีก่อนคริสต์-ศักราช จากนั้นอิทธิพลของความเจริญของสองอารยธรรมก็ได้แพร่หลายไปยังทางใต้ของยุโรปสู่เกาะครีต ต่อมาชาวกรีกได้รับเอาความเจริญจากเกาะครีตและความเจริญของอียิปต์มาสร้างสมเป็นอารยกธรรมกรีกขึ้น และเมื่อชาวโรมันในแหลมอิตาลียึดครองกรีกได้ ชาวโรมันก็นำอารยธรรมกรีกกลับไปยังโรมและสร้างสมอารยธรรมโรมันขึ้น ต่อมาเมื่อชาวโรมันสถาปนาจักรวรรดิโรมันพร้อมกับขยายอาณาเขตของตนไปอย่างกว้างขวาง อารยธรรมโรมันจึงแพร่ขยายออกไป จนกระทั่งจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงเมื่อพวกอนารยชนเผ่าเยอรมันเข้ายึดกรุงโรมได้ใน ค.ศ. 476 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณของชาติตะวันตกจึงสิ้นสุดลง
2. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (ค.ศ. 476-ค.ศ. 1453) เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ. 476 เมื่อถูกพวกอนารยชนเยอรมันเผ่าวิสิกอธ (Visigoth) โจมตี ซึ่งเหตุการณ์นี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตก เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง สภาพทั่วไปของกรุงโรมเต็มไปด้วยความวุ่นวาย การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอ่อนแอ ประชาชนอดอยาก ขาดที่พึ่ง มีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย เนื่องจากช่วงเวลานี้ยุโรปตะวันตกไม่มีจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ปกครองดังเช่นจักรวรรดิโรมัน นอกจากนี้ยังถูกพวกอนารยชนเผ่าต่างๆ เข้ามารุกราน ส่งผลให้อารยธรรมกรีกและโรมันอันเจริญรุ่งเรืองในยุโรปตะวันตกได้หยุดชะงักลง นักประวัติศาสตร์สมัยก่อนจึงเรียกช่วงสมัยนี้อีกชื่อหนึ่งว่า ยุคมืด (Dark Ages) หลังจากนั้นศูนย์กลางของอำนาจยุโรปได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองไบแซนติอุม (Byzantium) ซึ่งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน โดยจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantion) เป็นผู้สถาปนาจักรวรรดิแห่งใหม่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ตามชื่อของจักรพรรดิคอนสแตนติน ประวัติศาสตร์สมัยกลางนี้เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอารยธรรมตะวันตกจากอารยธรรมโรมันไปสู่อารยธรรมคริสต์ศาสนา เป็นสมัยที่ตะวันตกได้รับอิทธิพลอย่างมากจากคริสต์ศาสนา ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้สังคมสมัยกลางยังมีลักษณะเป็นสังคมในระบบฟิวดัล (Feudalism) หรือสังคมระบบศักดินาสวามิภักดิ์ ที่ขุนนางมีอำนาจครอบครองพื้นที่ โดยประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะเป็นข้าติดที่ดิน (sert) และดำรงชีวิตอยู่ในเขตแมเนอร์ (Manor) ของขุนนาง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของสังคมสมัยกลาง นอกจากนี้ในสมัยกลางนี้ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญ คือ สงครามครูเสด ซึ่งเป็นสงครามความขัดแย้งระหว่างคริสต์ศาสนากับศาสนาอิสลาม ที่กินเวลาเกือบ 200 ปี เป็นผลให้เกิดการค้นหาเส้นทางการค้าทางทะเลและวิทยาการด้านอื่นๆ ตามมา สมัยกลางสิ้นสุดใน ค.ศ. 1453 เมื่อพวกออตโตมันเตอร์กสามารถยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลของจักรวรรดิโรมันตะวันตกได้
3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (ค.ศ. 1453-1945) ประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ถือว่าเริ่มต้นใน ค.ศ. 1453 เป็นปีที่ชนเผ่าเติร์กโจมตีและสามารถยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ เป็นผลให้ศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองกลับมาอยู่ในยุโรปตะวันตกอีกครั้ง ในระหว่างนี้ในยุโรปตะวันตกเองกำลังมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านความคิดและศิลปวิทยาการต่างๆจากพัฒนาการของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่ดำเนินมา ยุโรปจึงกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ในครั้งนี้ได้มีการสำรวจและขยายดินแดนออกไปกว้างไกลจนเกิดเป็นยุคล่าอาณานิคม ซึ่งต่อมานำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ กลายเป็นสงครามใหญ่ที่เรียกกันว่าสงครามโลกถึงสองครั้งภายในเวลาห่างกันเพียง 20 ปี ในช่วงเวลาเกือบห้าร้อยปีของประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย ที่โดดเด่นและมีผลกระทบยาวไกลต่อเนื่องมาจนถึงโลกปัจจุบัน ได้แก่ การสำรวจทางทะเล การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การกำเนิดแนวคิดทางการเมืองใหม่ (เสรีนิยม ชาตินิยม และประชาธิปไตย) การขยายดินแดนหรือการล่าอาณานิคม (จักรวรรดินิยม) และสงครามโลกสองครั้ง
4. ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1945-ปัจจุบัน) หรือเรียกกันว่า ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลกและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองของสังคมโลกในปัจจุบัน โดยช่วงประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันมีเหตุการณ์ ดังนี้
4.1 สมัยสงครามเย็น (ค.ศ. 1945-1991) เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงได้เกิดการขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของสองอภิมหาอำนาจ คือ สหรัฐอเมริกาผู้นำค่ายประชาธิปไตยและสหภาพโซเวียตผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์ เพื่อแข่งขันเกี่ยวกับลัทธิความเชื่อทางการเมืองและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยไม่ได้ทำสงครามเหมือนสงครามโลกที่ผ่านมา แต่ใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อเป็นหลักในการหาพันธมิตรและประเทศใต้อิทธิพล ประเทศเล็กๆ จึงจำเป็นต้องเข้าข้างและรับการสนับสนุนจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สงครามเย็นสิ้นสุดลงเมื่อผู้นำประเทศสหภาพโซเวียตได้ปรับนโยบายการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เน้นการร่วมมือกับนานาประเทศในการแก้ปัญหาต่างๆ และปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ต่อมาเมื่อประเทศยุโรปตะวันออกซึ่งเป็นพันธมิตรของสหภาพโซเวียตได้แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต ส่งผลให้พรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศยุโรปตะวันออกสิ้นสุดอำนาจลง ต่อมาใน ค.ศ. 1989 สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตตกลงลงนามร่วมกันที่เกาะมอลตา ประกาศการสิ้นสุดภาวะสงครามเย็น บรรยากาศสันติภาพจึงแพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคต่างๆ ของโลก ใน ค.ศ. 1990 กำแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นก็ถูกทำลายลง และปีต่อมาเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนี ตะวันออกก็รวมตัวเป็นประเทศเดียวกัน และในปลาย ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตก็ล่มสลาย สงครามเย็นจึงสิ้นสุดอย่างเป็นทางการ
4.2 สมัยโลกาภิวัตน์ ตั้งแต่ช่วงครั้งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงเวลาที่โลกมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งวิทยาการแขนงต่างๆ ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยทั่วไปเจริญขึ้น มนุษย์สามารถเดินทางไปสำรวจอวกาศและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ รู้จักประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือที่ทำให้สะดวกสบาย ความเจริญทางด้านการแพทย์ทำให้มนุษย์มีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพ การคมนาคมขนส่งข้ามทวีปเป็นไปอย่างรวดเร็ว หรือการสื่อสารข้อมูลแพร่หลายที่สื่อภาพและเสียงโดยผ่านทางดาวเทียม อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถืออย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที
อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งได้ส่งผลต่อมนุษย์และเกิดปัญหาใหม่ๆ ตามมาอย่างรวดเร็ว การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร การใช้พลังงานนิวเคลียร์ การเกิดสภาวะที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นจนมีผลทำให้น้ำแข็งขั้วโลกและยอดเขาสูงละลายที่เรียกว่า ภาวะเรือนกระจก เป็นต้น ดังนั้นในยุคโลกาภิวัตน์นอกจากจะทำให้ชีวิตมนุษย์สุขสบายขึ้น แต่ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ตามมาด้วยเช่นกัน


สรุป




สรุปเหตุการณ์สำคัญสมัยต่างๆ

สมัยโบราณ
(3,500 ปี ก่อนคริสตกาล-คศ.476)
สมัยกลาง
(คศ 476 – คศ  1492)
สมัยใหม่
(คศ 1492 –คศ  1945)
สมัยปัจจุบัน
(คศ 1945 – ปัจจุบัน)
-ลุ่มแม่น้ำไทกริส
 –ยูเฟรติส  
                
-ลุ่มแม่น้ำไนล์
  อารยธรรมอียิปต์
-อารยธรรมกรีก  อีเจียน
-อารยธรรมโรมัน
   จักรวรรดิโรมันขยายอาณาเ   รอบทะเลเมดิเตร์เรเนียน
การสิ้นสุดสมัยโบราณ                    คือการอาณาจักรโรมัน
เสื่อม
-เป็นสมัยที่ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต
-ขุนนางมีอำนาจมาก เรียกว่าระบบศักดินาสวามิภักดิ์
(Fuldalism)
-มีสงครามครูเสดเป็นความขัดแย้งระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม 
-ผลกระทบจากสงครามครูเสดทำให้เส้นทางการค้าสายไหมไม่ปลอดภัย  จึงต้องการค้นหาเส้นทางการค้าทางทะเล มีผลทำให้เกิดการค้นพบวิทยาการ
-การสื้นสุดสมัยกลางคือการสำรวจทางทะเล  การค้นพบโลกใหม่
-สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
-การปฏิวัติวิทยาศาสตร์
-การปฏิบัติอุตสาหกรรม
-สงครามโลกครั้งที่ 1 
  สงครามโลกครั้งที่ 2 
-การสิ้นสุดสมัยใหม่คือสงครามโลกครั้งที่ 2  ยุติลง
-สงครามเย็น
-สงครามตัวแทน
-การล่มสลายของสหภาพเซียต
-การประกาศสงครามกับขบวนการก่อการร้ายของสหรัฐอเมริกา

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออก

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออกจะแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ หรือศูนย์กลางอำนาจเป็นเกณฑ์ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน สามารถแบ่งออกได้เป็นประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ (2200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 220) ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง (ค.ศ. 220 – ค.ศ. 1368) ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1911) และประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1911 – ปัจจุบัน)
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์จีน

ประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ

    ช่วงเวลาการเริ่มต้นจากรากฐานอารยธรรมจีน ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมหยางเซา (Yang Shao) วัฒนธรรมหลงซาน (Lung Shan) อันเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาและโลหะสำริด ต่อมาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ต่าง ๆ ได้ปกครองประเทศ ได้แก่ ราชวงศ์เซียะ ประมาณ 2,205 – 1,766 ปีก่อนคริสต์ศักราช และราชวงศ์ชางประมาณ 1,767 – 1,122 ปีก่อนคริสต์ศักราช ช่วงเวลาที่จีนเริ่มก่อตัวเป็นรัฐที่มีรากฐานการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ราชวงศ์โจว ประมาณ 1,122 – 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งแบ่งออกเป็นราชวงศ์โจวตะวันตก และราชวงศ์โจวตะวันออก เมื่อราชวงศ์โจวตะวันออกเสื่อมลง เกิดสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองรัฐต่าง ๆ ในที่สุดราชวงศ์ฉิน รวบรวมด่อตั้งราชวงศ์ช่วงเวลา 221 – 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสมัยราชวงศ์ฮั่น 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศง 220) เป็นสมัยที่รวมศูนย์อำนาจจนเป็นจักรพรรดิ

ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง

    
อารยธรรมมีการปรับตัวเพื่อรับอิทธิพลต่างชาติเข้ามาผสมผสานในสังคมจีน ที่สำคัญคือพระพุทธศาสนา แระวัติศาสตร์จีนสมัยกลางเริ่มสมัยด้วยความวุ่นวายจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น เรียกว่าสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 220 – ค.ศ. 589) เป็นช่วงเวลาการยึดครอบของชาวต่างชาติ การแบ่งแยกดินแดน ก่อนที่จะมีการรวมประเทศในสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – ค.ศ. 907) ช่วงเวลานี้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองสูงสุดก่อนที่จะแตกแยกอีกครั้ง ในสมัยห้าราชวงศ์กับสิบรัฐ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 979) ต่อมาสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 – ค.ศ. 1279) สามารถรวบรวมประเทศจีนได้อีกครั้ง และมีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม จนกระทั่งชาวมองโกลสามารถยึดครองประเทศจีนและสถาปนาราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1260 – ค.ศ. 1368)
ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่


    
ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่เริ่มใน ค.ศ. 1368 เมื่อชาวจีนขับไล่พวกมองโกลออกไป แล้วสถาปนาราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) ขึ้นปกครองประเทศจีน และถูกโค่นล้มอีกครั้งโดยราชวงศ์ซิง (ค.ศ. 1664 – ค.ศ. 1911) ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงเป็นเวลาที่ประเทศจีนถูกคุกคามจากชาติตะวันตก และจีนพ่ายแพ้แก่อังกฤษในสงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839 – ค.ศ. 1842) จนสิ้นสุดราชวงศ์ใน ค.ศ. 1911

ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน
    
ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบันเริ่มต้นใน ค.ศ. 1911 เมื่อจีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐโดย ดร.ซุน ยัตเซน (ค.ศ. 1911 – ค.ศ. 1949) ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์ได้ปฏิวัติและได้ปกครองจีน จึงเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จนถึงปัจจุบัน


สรุปเหตุการณ์สำคัญของจีน

สมัยโบราณ
(2,200 ปี ก่อนคริสตกาล-คศ.220)
สมัยกลาง
(คศ 220 – คศ  1368)
สมัยใหม่
(คศ 1368 –คศ  1911)
สมัยปัจจุบัน
(คศ 1911 – ปัจจุบัน)
ราชวงศ์ชาง
ราชวงศ์โจว
ราชวงศ์จิ๋น
ราชวงศ์ฮั่น เป็นสมัยที่
เริ่มก่อตั้งเป็นรัฐ  วาง
รากฐานการปกครอง 
เศรษฐกิจ  สังคม จนถึงสมัยที่รวมศูนย์อำนาจจนเป็น
จักรพรรดิ
-เป็นช่วงจีนมีความ
เจริญแถบลุ่มแม่น้ำ
ฮวงโห
-มีปรัชญาจีน คือ ลัทธิ
ขงจื้อ เต๋า
ราชวงศ์สุย
ราชวงศ์ถัง
ราชวงศ์ซ้อง
ราชวงศ์หยวน
-เป็นช่วงที่จีนมีการปรับตัว 
รับวัฒนธรรมต่างชาติ
-ศาสนาพุทธมีบทบาทสำคัญ
จีนขับไล่มองโกล
ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์แมนจู
-จีนถูกคุกคามจากชาติตะวันตกและพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นในราชวงศ์ชิง
-จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ โดย
 ซุน ยัต เซน
-ต่อมาพรรคอมมิวนิสต์มีอำนาจมากขึ้น สามารถเข้ายึดและเปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ คศง1911  จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย

    
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย แบ่งอกเป็น สมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ แต่ละยุคสมัยจำมีการแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียขณะนั้น


ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ
              ตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยมีพวกดราวิเดียน เมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์สักราชเมื่อชนชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่การเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง มีการก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500 – 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยมหากาพย์ (900 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ต่อมาอินเดียรวมตัวกันในสมัยราชวงศ์มคธ (600 – 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และมีการรวมตัวอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ (321 - 184 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระยะเวลานี้เป็นเวลาที่อินเดียเปิดเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ ต่อมาราชวงศ์เมารยะล่มสลายอินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งการแตกแยกและการรุกรานจากภายนอก จากพวกกรีกและพวกกุษาณะ รยะเวลานี้เป็นสมัยการผสมผสานทางวัฒนธรรมก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (สมัยคุปตะ ค.ศ. 320 – ค.ศ. 535)


ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง

    
อินเดียเข้าสู่สมัยกลาง ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1525 สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมือง และการรุกรานจากต่างชาติ โดยพาะชาวมุสลิม สมัยกลางจึงเป็นสมัยที่อารยธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลลี (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1526)

ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่


พวกโมกุลได้ตั้งราชวงศ์โมกุลถือว่าสมัยโมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1857) เป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ. 1585 จนถึง ค.ศ. 1947 อินเดียจึงได้รับเอกราชจากรปะเทศอังกฤษ ภายหลังได้รับเอกราชและถูกแบ่งออกเป็นประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ (ค.ศ. 1971) ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมอินเดีย ขณะที่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยึดมั่นในศาสนาของตนเองมากขึ้น และเกิดความแตกแยกในสังคมอินเดีย ดังนั้นประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ สามารถแบ่งได้เป็นสมัยราชวงศ์โมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1858) สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย (ค.ศ. 1858 – ค.ศ. 1947) อย่างไรก็ตามสมัยที่วัฒนธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอารยธรรมอินเดียเรียกรวมว่า สมัยมุสลิม (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1858) หมายถึง รวมสมัยสุลต่านแห่งเดลฮีกับสมัยราชวงศ์โมกุล

สมัยโบราณ
(2,500 ปี ก่อนคริสตกาล-คศ.535)
สมัยกลาง
(คศ 535 – คศ  1526)
สมัยใหม่
(คศ 1526 –คศ  1947)
สมัยปัจจุบัน
(คศ 1947 – ปัจจุบัน)
-ลุ่มแม่น้ำสินธุ ใน
ประเทศปากีสถาน เป็น
ที่เกิดอารยธรรมอินเดีย
 พบเมืองโมเฮนโจดาโร
และเมืองฮารัปปา  โดย
ชาวพื้นเมืองคือ
ดราวิเดียน
-พวกอินโด –อารยัน
 อพยพเข้ามาตั้งหลัก
แหล่ง จึงขับไล่ชาวพื้น
เมืองลงไปทางใต้ของ
อินเดีย
-ชาวอารยันได้ตั้งตน
เป็นใหญ่ สร้างสรรค์
อารยธรรม ได้แก่          
  คัมภีร์พระเวท 
  มียุคมหากาพย์
มีระบบวรรรณะ
-ได้รวมตัวกันเป็นครั้ง
แรกในราชวงศ์มคธและ
ราชวงศ์เมาริยะ
-มีการเผยแพร่พระพุทธ
ศาสนาไปที่ต่างๆ 
-อินเดียเข้าสู่ยุค
แตกแยก ถูกรุกรานจาก
พวกกรีก  พวกกุษาณะ
-มุสลิมเข้ามามีอำนาจเกิดการผสมผสานระหว่างอินเดียกับ
มุสลิม
--สิ้นสุดสมัยกลางคือ สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี
-เริ่มสมัยโมกุล เป็นสมัยที่อังกฤษปกครองอินเดีย
-วัฒนธรรมต่างชาติมีบทบาท เช่นวัฒนธรรมเปอร์เซีย
วัฒนธรรมตะวันตก
-มีความขัดแย้งทางศาสนา ส่งผลต่อการแบ่งแยกประเทศหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ
-เริ่มตั้งแต่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแบ่งแยกเป็นประเทศต่างๆ คือ ประเทศอินเดีย   ปากีสถาน                  บังคลาเทศ






            



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น